สมุนไพรชิงช้าชาลี
มีชื่อท้องถิ่นอื่น
ๆ ว่า จุ่งจะลิงตัวแม่ (ภาคเหนือ), จุ่งจะริงตัวพ่อ (ภาคเหนือ), บรเพ็ชร บรเพ็ชร์ ชิงชาลี (ภาคกลาง), ตะซีคี,
ตะคี, ตะซีคิ (กะเหรี่ยง ภาคเหนือ)เป็นต้น
ลักษณะของชิงช้าชาลี
· ต้นชิงช้าชาลี จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น
ตามเถามีรูอากาศสีขาว เถามีลักษณะกลมและเหนียว ตามเถามีปุ่มปมเล็กน้อย
เถาอ่อนเป็นสีเขียว ทุกส่วนมีรสขม โดยเฉพาะเถาแกขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ
มักพบขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป
สรรพคุณของชิงช้าชาลี
1.
เถามีรสขมเย็น มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย (เถา)
2.
ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ ช่วยเจริญอาหาร (เถา) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้รากและดอกเป็นยาแก้ธาตุพิการ
(รากและดอก)
3.
ใช้เป็นยาแก้มะเร็ง (เถา,ใบ)
4.
น้ำต้มจากทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาลดเบาหวานได้ (ทั้งต้น)
5.
เถาใช้เป็นยาแก้ไข้ ไข้กาฬ ไข้เหนือ ไข้มาลาเรีย
ไข้มาลาเรียที่จับเว้นระยะ (antiperiodic)
ทำให้เลือดเย็น (สามารถนำมาใช้แทนเถาบอระเพ็ดได้) (เถา)
6.
เถาใช้เป็นยาแก้โลหิตอันเป็นพิษ แก้ร้อนใน
ช่วยบรรเทาอาการกระหายน้ำ (เถา)
7.
รากอากาศมีรสเข็น ใช้เป็นยาแก้ไข้พิษร้อน (รากอากาศ)
8.
รากอากาศมีสรรพคุณทำให้อาเจียนอย่างแรง (รากอากาศ)
9.
ดอกมีรสขมเมาใช้เป็นยาแก้แมลงเข้าหู (ดอก)
10. ใช้แก้อาการปวดฟัน แก้รำมะนาด (ดอก)
11. ดอกใช้เป็นยาขับพยาธิในท้อง ในหู ในฟัน (ดอก)
12. รากและดอกใช้ปรุงเป็นยาขับลม แก้ท้องเฟ้อ
(รากและดอก)
13. เถาใช้เป็นยาแก้โรคทางเดินปัสสาวะ (เถา)
14. ใบมีรสขมเมา มีสรรพคุเป็นยาบำรุงน้ำดี
แก้ดีพิการ (ใบ)
15. ใช้เป็นยาแก้ดีซ่าน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
16. ใบใช้เป็นยาถอนพิษ ดับพิษทั้งปวง (ใบ)
17. ใบนำมาบดผสมกับน้ำผึ้งใช้ทารักษาแผล (ใบ)
18. ใบอ่อนใช้ผสมกับน้ำนมทาแก้ไฟลามทุ่ง (erysipelas) (ใบ)
19. ใบใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ พยาธิผิวหนัง (ใบ)
20. ใบสดใช้ตำพอกรักษาฝีทำให้เย็น (ใบ)
21. เถาใช้เป็นยาแก้พิษฝีดาษ แก้ฝีกาฬ
อันบังเกิดเพื่อฝีดาษ (เถา)
22. ใช้เป็นยาแก้อักเสบ แก้พิษอักเสบ (เถา)
23. ใบสดใช้ตำพอกรักษาอาการปวด (ใบ)
24. ใช้แก้อาการเกร็ง (เถา)
25. รากและดอกใช้เป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย
(รากและดอก)
ขนาดและวิธีใช้ :
การใช้ตามให้นำต้น ใบ เถา 1 กำมือ มาต้มกับน้ำ 3 แก้ว เคี่ยวนานประมาณ 10-15
นาที แล้วนำมาแบ่งดื่มเช้าและเย็น หรือใช้รากประมาณ 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก ใช้ต้มกับน้ำดื่มเช้าและเย็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น