หนอนตายหยาก
เป็นพืชที่จัดอยู่ในวงศ์STEMONACEAE เป็นพืชที่พบได้ามป่าทั่วไปในประเทศจีน ญีปุ่น อินโดนีเซีย ลาว
มาเลเซีย และไทย
โดยสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ หนอนตายหยากเล็ก และหนอนตายหยากใหญ่
·
หนอนตายหยากเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ Stemona tuberosa Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Roxburghia gloriosa Pers, Roxburghia gloriosoides
Roxb, Roxburghia viridiflora J. Sm) และมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กะเพียด (ชลบุรี, ประจวบคีรีขันธ์), ป้งสามสิบ (คนเมือง), โปร่งมดง่าม ปงมดง่าม (เชียงใหม่), หนอนตายยาก(ลำปาง), หนอนตายหยาก (แม่ฮ่องสอน), กะเพียดหนู, สลอดเชียงคำ (อีสานโบราณ) เป็นต้นส่วนข้อมูลจากหนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน
ระบุว่ายังมีหนอนตายหยากเล็กอีกชนิด ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stemona japonica Blume Miq. และมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ
ว่า หนอนตายหยากเล็ก, โป่งมดง่าม, ป่ายปู้, ตุ้ยเย่ป่ายปู้ (จีนกลาง)
ซึ่งตามตำราระบุไว้ว่าสามารถนำมาใช้แทนกันได้
·
หนอนตายหยากใหญ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Stemona collinsae Craib. และมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ
ว่า หนอนตายหยาก, กะเพียดช้าง, ปงช้าง เป็นต้น
ลักษณะของหนอนตายหยากใหญ่
·
ต้นหนอนตายหยากใหญ่ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี
มีลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-40 เซนติเมตร
แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีรากอยู่ใต้ดินจำนวนมาก รากเป็นแบบรากกลุ่มอยู่กันพวง
ลักษณะคล้ายนิ้วมือ รากเป็นสีเหลืองอ่อนอวบน้ำ ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
เมื่อถึงฤดูแล้งต้นเหนือดินจะโทรมหมดเหลือแต่รากใต้ดิน
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนใบจึงจะงอกออกมาพร้อมกับออกดอก พบได้ตามป่าดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่าเบญจพรรณทั่วไป
·
ใบหนอนตายหยากใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ
ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ
ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-15 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน มีเส้นใบประมาณ 10-15 เส้น ขนานกัน ระหว่างเส้นแขนงใบมีเส้นใบย่อยมาตัดขวาง
ก้านใบนั้นยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร
ส่วนโคนพองเป็นกระเปาะ
·
ดอกหนอนตายหยากใหญ่ ออกดอกเป็นช่อ
โดยจะออกตามซอกใบ ใบประดับมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานปลายมน กว้างประมาณ 0.25-0.3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.1-1.2
เซนติเมตร
ก้านดอกย่อยยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ส่วนกลีบดอกมี 4 กลีบ กลีบดอกเป็นสีเหลืองแกมชมพู
มีขนาดไม่เท่ากันเรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นนอกมี 2 อัน ลักษณะเป็นรูปขอบขนานปลายแหลม กว้างประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.9-2
เซนติเมตร
มีเส้นแขนงประมาณ 9-11 เส้น ส่วนชั้นนอกมี 2 อัน ลักษณะเป็นรูปไข่ปลายแหลม กว้างประมาณ 0.6-0.7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.8-1.9
เซนติเมตร
มีเส้นแขนงประมาณ 13-15 เส้น ดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน ขนาดเท่ากัน ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม
โคนเป็นรูปหัวใจขอบเรียบ กว้างประมาณ 0.2-0.3
เซนติเมตร
และยาวประมาณ 1.5-1.6 เซนติเมตร ส่วนเกสรเพศเมีย
มีรังไข่เหนือวงกลีบ รูปไข่ยาวประมาณ 0.3-0.4
เซนติเมตร
และปลายเกสรเพศเมียมีขนาดเล็ก
·
ผลหนอนตายหยากใหญ่ ผลเค่อนข้างแข็งเป็นสีน้ำตาลและมีขนาดเล็ก
ข้อสังเกต : ความแตกต่างระหว่างหนอนตายหยากเล็กและใหญ่คือ
ลักษณะของใบหนอนตายหยากเล็กจะเป็นรูปหัวใจทรงกลม
ส่วนใบของหนอนตายหยากจะเป็นรูปหัวใจทรงยาว และหนอนตายหยากใหญ่จะมีกลีบดอกใหญ่กว่า
รากอวบใหญ่กว่าหนอนตายหยากเล็ก
สรรพคุณของหนอนตายหยาก
1.
เหง้าหรือรากมีรสขมชุ่ม เป็นยาร้อนเล็กน้อย มีพิษเล็กน้อย
ออกฤทธิ์ต่อปอดและม้าม ใช้เป็นยาแก้ไอเย็น ไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ
อาการไออันเนื่องมาจากเป็นวัณโรค (ราก)
2.
ตำรับยาแก้อาการไอเนื่องมาจากวัณโรค
ให้ใช้รากหรือเหง้าหนอนตายหยาก, เปลือกหอยแครงสะตุ, เกล็ดนิ่ม, จี๊ฮวง อย่างละเท่ากัน
แล้วนำมาบดให้เป็นผง ใช้ชงกับน้ำรับประทานครั้งละ 5
กรัม
วันละ 2-3 ครั้ง (ราก)
3.
ช่วยขับเสมหะ รักษาวัณโรค (ราก)
4.
บางข้อมูลระบุว่ามีการหนอนตายหยากเป็นยาแก้ภูมิแพ้
โดยใช้รากหนอนตายหยากและใบหนุมานประสานกาย (สดหรือแห้งก็ได้) อย่างละเท่ากัน
นำมาต้มกับน้ำดื่มขณะยังอุ่นต่างน้ำทุกวัน จะช่วยแก้อาการของโรคภูมิแพ้
รวมถึงช่วยละลายเสมหะ และลดอาการไอได้ด้วย (ราก) (ข้อมูลจาก : tripod.com)
5.
ชาวเขาเผ่าม้งและเย้าจะใช้รากหรือทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มและอาบแก้โรคโปลิโอ
(ราก,ทั้งต้น)
6.
ใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน ให้ใช้รากสด 1 ราก ที่ล้างสะอาดแล้ว นำมาหั่นตำให้ละเอียด เติมเกลือ 1/2 ช้อนชา ใช้อมประมาณ 10-15
นาที
แล้วบ้วนทิ้ง ทำแบบนี้ติดต่อกันประมาณ 2-4
ครั้งจะหายปวดฟัน
(ให้เว้นระยะห่างกัน 4-5 ชั่วโมง) (ราก)[4] ส่วนอีกวิธีใช้ใบนำมาตำและอมแก้อาการปวดฟัน
(ใบ)
7.
ในประเทศอินโดจีนจะใช้รากเป็นยารักษาโรคเจ็บหน้าอก (ราก)
8.
ในประเทศจีนจะใช้สมุนไพรชนิดนี้เป็นยาขับผายลม (ราก)
9.
ใช้เป็นยาแก้บิดอะมีบา ด้วยการใช้รากหรือเหง้าหนอนตายหยาก 5-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
10.
รากมีสรรพคุณเป็นยาฆ่าเชื้อพยาธิภายในลำไส้ พยาธิตัวกลม
พยาธิตัวแบน พยาธิเส้นด้าย พยาธิใบไม้ในตับ พยาธิปากขอ พยาธิตัวจี๊ด
ด้วยการใช้รากแห้ง 2 ราก
นำมาต้มกับน้ำกินติดต่อกันประมาณ 15-20
วัน
(ราก)[1],[3],[5],[8] ส่วนวิธีใช้ถ่ายพยาธิปากขอ
ให้ใช้รากหรือเหง้า 100 กรัม แบ่งต้ม 4 ครั้ง จากนั้นนำมาสกัดจนเหลือ 30 ซีซี ใช้รับประทานครั้งละ 15
ซีซี
โดยให้รับประทานติดกัน 2 วัน
จึงจะสามารถถ่ายพยาธิปากขอออกมาได้ (ราก)
11.
ตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านของจังหวัดอุบลราชธานี
จะใช้รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
โดยนำรากมาผสมกับหญ้าหวายนาและชะอม ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิตัวจี๊ด (ราก)
12.
ชาวเขาเผ่าม้งและเย้าจะใช้รากหรือทั้งต้นหนอนตายหยากต้มกับน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ
ขับนิ่ว แก้ปัสสาวะติดขัด (ราก,ทั้งต้น)
13.
รากและหัวมีสรรพคุณเป็นยารักษาริดสีดวงทวารหนัก
ด้วยการใช้รากนำมาปรุงต้มรับประทาน พร้อมกับต้มกับยาฉุนใช้รมหัวริดสีดวง
จะทำให้ริดสีดวงฝ่อและแห้งไป (หัว,ราก)
14.
รากใช้ปรุงเป็นยารักษามะเร็งตับ (ราก)
15.
รากหรือหัวใช้ปรุงเป็นยารับประทานแก้น้ำเหลืองเสีย (ราก)
16.
ใช้รักษาจี๊ด ให้ใช้รากสดประมาณ 3-4 ราก ที่ล้างน้ำสะอาดแล้ว นำมาหั่นตำให้ละเอียด
ใช้พอกตรงที่มีตัวจี๊ด ซึ่งจะสังเกตได้โดยบริเวณนั้นจะบวมขึ้นมา โดยให้พอกหลาย ๆ
ครั้งจนกว่าจะหาย (ราก)
17.
รากใช้ปรุงเป็นยาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคันตามร่างกาย
และผิวหนังอักเสบ ด้วยการใช้รากประมาณ 50-100
กรัม
นำมาต้มแล้วเอาน้ำใช้ล้างหรืออาบ (ราก)
18.
ตำรายาไทยจะใช้รากนำมาทุบหรือตำผสมกับน้ำหรือหมักกับน้ำแล้วเอาน้ำมาพอกทาฆ่าหิด
เหา แมลง หนอน หรือศัตรูพืช (ราก)
19.
รากนำมาทุบให้ละเอียดแช่กับน้ำ ใช้พอกแผลต่าง ๆ ฆ่าหนอน
และทำลายหิดได้ (ราก)
20.
รากหนอนตายหยากใหญ่ มีรสเย็น
เป็นยาแก้อาการวัยทองทั้งชายและหญิง (รากหนอนตายหยากใหญ่)
21.
สมุนไพรหนอนตายหยากยังใช้เป็นส่วนผสมของตำรับยาไทยอีกหลายรายการ
เช่น ยาตัดรากอุปะทม (แก้อุปะทมโรคสำหรับบุรุษ),
ยาแก้นิ่วเนื้อด้วยอุปทุม, ยาต้มสมานลำไส้, ยาแก้ลมกำเริบ, ยาแก้ดีลมแลกำเดา, ยาแก้ดีกำเดาแผลงฤทธิ์ร้าย
เป็นต้น
22.
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่น ๆ
ที่ระบุสรรพคุณนอกเหนือจากที่กล่าวมาไว้อีกหลายอย่าง เช่น
ช่วยลดระดับน้ำตาลสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย (นันทวัน และอรนุช
2543) แก้มะเร็งในกระดูก แก้มะเร็งในมดลูก
แก้โรคผิวหนังเป็นตุ่มหนอง (th.apoc12.com –
ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช
กรมวิชาการเกษตร), มะเร็งผิวหนัง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและรังไข่ ฯลฯ
ซึ่งข้อมูลส่วนนี้เองผมก็ยังหาเอกสารอ้างอิงไม่เจอครับ
จึงไม่แน่ใจว่าจะมีสรรพคุณดังที่กล่าวมาหรือไม่
หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม ให้ใช้รากแห้งครั้งละ 3-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ถ้าใช้ภายนอกให้ใช้ประมาณ 50-100
กรัม
นำมาต้มแล้วใช้น้ำล้างหรืออาบแก้โรคผิวหนังผดผื่นคัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น